เมนู

ข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้ ปุณณโกลิยบุตรทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสกะข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าสมาทานโควัตรนี้อย่างบริบูรณ์มาช้านาน ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงสามารถแสดงธรรมโดยประการที่ให้ข้าพเจ้าพึงละโควัตรนี้ได้
และเสนิยอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข พึงละกุกกุรวัตรนั้นได้.
ดูก่อนปุณณะ ถ้ากระนั้น ท่านจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว
ปุณณโกลิยบุตร ผู้พระพฤติวัตรดังโค ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

กรรมดำกรรมขาว 4


[88] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนปุณณะ
กรรม 4 ประการนี้ เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้
ตาม 4 ประการนั้นเป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ กรรมดำมีวิบากดำมีอยู่ กรรม
ขาวมีวิบากขาวมีอยู่ กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวมีอยู่ กรรมไม่
ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่.
ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมดำมีวิบากดำ เป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์ ประมวลวจีสังขาร
อันมีความทุกข์ ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์ ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้า
ถึงโลกอันมีความทุกข์ ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันมีทุกข์ เขาอันผัสสะ
ประกอบด้วยทุกข์ถูกต้อง ย่อมเสวยเวทนาอันประกอบด้วยทุกข์ อันเป็นทุกข์
โดยส่วนเดียว ดุจสัตว์นรก ฉะนั้น ดูก่อนปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล
ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะ

ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูก่อนปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า
สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรากล่าวว่า กรรมดำมีวิบากดำ.
ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวลวจี-
สังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวลมโนสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ครั้นแล้ว
เขาย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ ผัสสะอันไม่มีความทุกข์ ย่อมถูกต้องเขา
ผู้เข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ เขาอันผัสสะไม่มีความทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อม
เสวยเวทนาอันไม่มีความทุกข์ เป็นสุขโดยส่วนเดียว ดุจเทพชั้นสุภกิณหาฉะนั้น
ดูก่อนปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรม
ใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูก่อน
ปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรา
กล่าวว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.
ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็น
ไฉน ดูก่อนปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความ
ทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวลวจีสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มี
ความทุกข์บ้าง ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง
ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ผัสสะ
อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลก อันมี
ความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง เขาอันผัสสะที่มีความทุกข์บ้าง ไม่มีความ
ทุกข์บ้างถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง
มีทั้งสุขและทุกข์ระคนกัน ดุจพวกมนุษย์ เทพบางเหล่าและสัตว์วินิบาตบาง
เหล่าฉะนั้น ดูก่อนปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี
สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึง

แล้ว ดูก่อนปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท
ข้อนี้เรากล่าวว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.
ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้นเป็นไฉน
ดูก่อนปุณณะ บรรดากรรม 3
ประการนั้น เจตนาเพื่อละกรรมดำ มีวิบากดำ เจตนาเพื่อละกรรมขาว มี
วิบากขาว เจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวนั้นเสีย ข้อนี้
เรากล่าวว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม ดูก่อนปุณณะ กรรม 4 ประการนี้แล เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม.

ปุณณโกลิยบุตรแสดงคนเป็นอุบาสก


[89] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปุณณโกลิยบุตรผู้
พระพฤติวัตรดังโค ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่
คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้
ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและ
พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ทั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

เสนิยอเจละขอบรรพชาอุปสมบท


เสนิยอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัขได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระ-